วิทยาลัยอาชีวศึกษาฉะเชิงเทราจัดตั้งขึ้นเมื่อปี ๒๔๘๑ บนเนื้อที่ ๔ ไร่ ๓ งาน ๘๙ ตารางวา ในนามโรงเรียนประถมช่างทอผ้าโดยได้รับการพัฒนาปรับปรุงและยกฐานะเป็นวิทยาลัยฯ เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๑๙ ปัจจุบันมีเนื้อที่รวม ๖ ไร่ ๒ งาน ๓๔.๒๒ ตารางวา ตั้งอยู่เลขที่ ๑๕๔ ถนนมรุพงษ์ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา รหัสไปรษณีย์ ๒๔๐๐๐ โดยมีประวัติความเป็นมาดังนี้
วิทยาลัยอาชีวศึกษาฉะเชิงเทราได้จัดตั้งเมื่อวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๑ โดย กรมอาชีวศึกษาร่วมกับจังหวัดฉะเชิงเทราได้เปิดโรงเรียนประถมช่างทอผ้า มีนายเสียง จันทรวราฑิตย์ เป็นครูใหญ่การเรียนการสอนได้ดำเนินการและเปลี่ยนแปลงมาตามลำดับ ดังนี้
พ.ศ. ๒๔๘๗ เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนเย็บเสื้อผ้ารับผู้สำเร็จชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ เข้าเรียนหลักสูตรช่างเย็บเสื้อผ้าจบแล้วได้ประกาศนียบัตรประโยคมัธยมอาชีวศึกษาตอนต้น
พ.ศ. ๒๔๙๑ เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนการช่างสตรีฉะเชิงเทราเปิดสอน
- ประโยคมัธยมอาชีวศึกษาตอนต้น(ม.๓)
- ประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย(ม.๖)
- ประโยคมัธยมศึกษาชั้นสูง(เรียนต่อจาก ม. ๖ อีก ๓ ปี)
พ.ศ. ๒๕๐๗ โรงเรียนการช่างสตรีฉะเชิงเทราเข้าอยู่ในโครงการยูนิเซฟเปิดสอน ๔ แผนกคือ
- แผนกวิชาผ้าและการตัดเย็บ
- แผนกวิชาอาหารและโภชนาการ
- แผนกวิชาคหกรรมศาสตร์
- แผนกวิชาศิลปหัตถกรรม(ไม้,หนัง,ทอ)
พ.ศ. ๒๕๑๑ ได้รับเงินงบประมาณ ๕๕๐,๐๐๐ บาท (ห้าแสนห้าหมื่นบาทถ้วน) ให้สร้าง
อาคารเรียนและห้องพยาบาล (อาคาร ๒) มีลักษณะเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ๒ ชั้น
พ.ศ. ๒๕๑๖ เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนอาชีวศึกษาฉะเชิงเทรา
พ.ศ. ๒๕๑๙ โรงเรียนอาชีวศึกษาฉะเชิงเทรารวมกับโรงเรียนการช่างฉะเชิงเทราได้รับการยกฐานะให้เป็นวิทยาลัยอาชีวศึกษาฉะเชิงเทราตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการลงวันที่ ๑ ตุลาคม๒๕๑๙ (เดิม) เป็นวิทยาลัยอาชีวศึกษาฉะเชิงเทราวิทยาเขต ๒ โดยขยายการศึกษาถึงระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงเปิดสอน ๒ คณะวิชาได้รับเงิน งบประมาณ ๑,๕๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งล้านห้าแสนบาทถ้วน) ให้สร้างอาคารเรียนและสำนักงานคณะบริหารธุรกิจ (อาคาร ๓) มีลักษณะเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ๓ ชั้น ๑ หลัง
พ.ศ. ๒๕๒๐ เปิดสอนระดับ ปวส. สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ทั่วไป
พ.ศ. ๒๕๒๑ เปิดสอนระดับ ปวช. ๒๐ หลักสูตร ๑ ๑/๒ ปี
พ.ศ. ๒๕๒๓ วิทยาลัยอาชีวศึกษาฉะเชิงเทราวิทยาเขต ๒ แยกวิทยาเขตเป็นวิทยาลัยอาชีวศึกษาฉะเชิงเทรา
พ.ศ. ๒๕๒๕ เปิดสอนระดับ ปวส.
๑. สาขาวิชาเลขานุการ
๒. สาขาวิชาการบัญชี
พ.ศ. ๒๕๒๖ เปิดสอนระดับ ปวช. เพิ่มเติม เป็น ๔ ประเภทวิชา
๑. สาขาวิชาพณิชยการ
๒. สาขาวิชาผ้าและเครื่องแต่งกาย
๓. สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ
๔. สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ทั่วไป
และได้รับเงินงบประมาณ ๔,๗๕๐,๐๐๐ บาท (สี่ล้านเจ็ดแสนห้าหมื่นบาทถ้วน) ให้สร้างอาคาร
เรียนและปฏิบัติการ (อาคาร ๑) มีลักษณะเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ๔ ชั้น ๑ หลัง
พ.ศ. ๒๕๒๗ เปิดสอนระดับ ปวช. เพิ่มเติม
๑. สาขาวิชาการบัญชี
๒. สาขาวิชาเลขานุการ
๓ สาขาวิชาการขาย
เปิดสอนระดับ ปวส. เพิ่มเติม
๑.สาขาวิชาผ้าและเครื่องแต่งกาย
๒. สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ
๓. สาขาวิชาการตลาด
๔. สาขาวิชาธุรกิจการค้าต่างประเทศ
เปิดสอนระดับ ปวท. เพิ่มเติม
๑. สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ทั่วไป
๒. สาขาวิชาการบัญชี
พ.ศ. ๒๕๒๙ เปิดสอนระดับ ปวท. เพิ่มเติม
สาขาวิชาคอมพิวเตอร์
พ.ศ. ๒๕๓๐ เปิดสอนระดับ ปวส. เพิ่มเติมสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ (แทนแผนกวิชาธุรกิจการค้าต่างประเทศซึ่งไม่มีนักศึกษาสมัครเข้าเรียน) ได้รับเงินงบประมาณ ๔,๐๐๐,๐๐๐ บาท
(สี่ล้านบาทถ้วน) และใช้เงินบำรุงการศึกษามาสมทบ ๒,๕๑๐,๘๔๑ บาท รวมเป็นเงิน
๖,๕๑๐,๘๔๑ บาท (หกล้านห้าแสนหนึ่งหมื่นแปดร้อยสี่สิบเอ็ดบาทถ้วน) ให้สร้างอาคารเรียนเอนกประสงค์และสานักงาน (อาคาร ๔) มีลักษณะเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ๔ ชั้น ๑ หลัง
พ.ศ. ๒๕๓๔ ได้รับเงิน ๑๐,๗๐๐,๐๐๐ บาท (สิบล้านเจ็ดแสนบาทถ้วน)
(เงินงบประมาณ๔,๐๐๐,๐๐๐ บาท เงินบำรุงการศึกษา ๖,๗๐๐,๐๐๐ บาท) ให้สร้างอาคารเรียนและปฏิบัติการคณะศิลปกรรม (อาคาร ๕) มีลักษณะเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ๕ ชั้น ๑ หลัง
พ.ศ. ๒๕๓๗ เปิดสอนระดับ ปวช. เพิ่ม ๑ แผนก แผนกวิชาวิจิตรศิลป์ ได้รับเงินงบประมาณ ๑๖,๖๕๐,๐๐๐ บาท (สิบหกล้านหกแสนห้าหมื่นบาทถ้วน) ให้สร้างอาคารเรียนและปฏิบัติการ
คณะคหกรรมศาสตร์ (อาคาร ๖) มีลักษณะเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ๖ ชั้น ๑ หลัง
พ.ศ. ๒๕๓๙ เปิดสอนระดับ ปวช. อาชีวศึกษาระบบทวิภาค สาขาวิชาการโรงแรม
พ.ศ. ๒๕๔๐ เปิดสอนระดับ ปวส. ภาคสมทบ
เปิดสอนระดับ ปวช. อาชีวศึกษาระบบทวิภาคีสาขาวิชาธุรกิจค้าปลีก
พ.ศ. ๒๕๔๓ เปิดสอนระดับ ปวส. สาขาวิชาพาณิชยศิลป์
เปิดสอนระดับ ปวส. สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ (ม.๖)
พ.ศ. ๒๕๔๔ เปิดสอนระดับ ปวช. (ทวิภาคี) สาขาธุรกิจอุตสาหกรรม
พ.ศ. ๒๕๔๖ เปิดสอนระดับ ปวส. (ทวิภาคี) สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ (เบเกอรี่)
พ.ศ. ๒๕๔๗ เปิดสอนระดับ ปวช. สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
เปิดสอนระดับ ปวช. สาขางานคอมพิวเตอร์กราฟฟิก
พ.ศ. ๒๕๖๑ เปิดสอนระดับ ปริญญาตรี สายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
พ.ศ. ๒๕๖๓ เปิดสอนระดับ ปวส. หลักสูตรพุทธศักราช ๒๕๕๗ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์
เปิดสอนระดับ ปวส. หลักสูตรพุทธศักราช ๒๕๕๗ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
เปิดสอนระดับ ปวส. หลักสูตรพุทธศักราช ๒๕๕๗ การจัดการสำนักงาน
พ.ศ. ๒๕๖๕ เปิดสอนระดับ ปวส. หลักสูตรพุทธศักราช ๒๕๖๓ สาขาวิชาเทคโนโลยีแฟชั่นและเครื่องแต่งกาย
พ.ศ. ๒๕๖๖ เปิดสอนระดับ ปวช. หลักสูตรพุทธศักราช ๒๕๖๒ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
เปิดสอนระดับ ปวช. หลักสูตรพุทธศักราช ๒๕๖๒ การจัดการสำนักงาน
เปิดสอนระดับ ปวช. หลักสูตรพุทธศักราช ๒๕๖๒ การจัดการโลจิสติกส์
เปิดสอนระดับ ปวส. หลักสูตรพุทธศักราช ๒๕๖๓ การจัดการธุรกิจค้าปลีก
วิสัยทัศน์ (Vision)
มุ่งมั่นพัฒนาการจัดการอาชีวศึกษา โดยใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการบริหารจัดการสถานศึกษา เพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สู่มาตรฐานนานาชาติ
ยุทธศาสตร์
๑.พัฒนาศักยภาพของผู้เรียนและผู้สำเร็จการศึกษา ๒.ยกระดับครูและบุคลากรทางการศึกษา ๓.บริหารจัดการอาชีวศึกษาสู่ความเป็นเลิศ
พันธกิจ
๑. พัฒนาศักยภาพผู้เรียนตามศตวรรษที่ 21 ให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์
๒. พัฒนาสมรรถนะทางวิชาชีพของผู้เรียน
๓. สนับสนุนให้ผู้เรียนฝึกประสบการณ์วิชาชีพทั้งในและต่างประเทศ
๔. พัฒนาครูด้านวิชาการและวิชาชีพ
๕. ส่งเสริมให้ครูและบุคลากรทางการศึกษามีคุณธรรม จริยธรรม ตามหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
๖. พัฒนาระบบการจัดการสถานศึกษา
๗. สร้างเครือข่ายความร่วมมือในการจัดการศึกษา
๘. สร้างการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการประกันคุณภาพการศึกษาตามาตรฐานนานาชาติ
๙. บริการวิชาการและวิชาชีพสู่ชุมชน
กลยุทธ์
๑.พัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพตามศตวรรษที่ 21 และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์
๒.พัฒนาผู้เรียนด้านทักษะภาษาและเทคโนโลยี
๓.พัฒนาทักษะวิชาชีพของผู้เรียน
๔.ส่งเสริมผู้เรียนในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพทั้งในและต่างประเทศ
๕.พัฒนาครูด้านวิชาการและวิชาชีพ เพื่อเพิ่มความสามารถในการจัดการเรียนการสอนให้กับผู้เรียน
๖.ส่งเสริมขีดความสารถของครูผู้สอนด้านภาษาและเทคโนโลยี
๗.พัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ครู และบุคลากรทางการศึกษา
๘.พัฒนาหลักสูตรและการใช้เทคโนโลยีการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องตามมาตรฐานอาชีพ
๙.ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการสถานศึกษา
๑๐. การบริหารจัดการองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ
๑๑. สร้างเครือข่ายความร่วมมือทั้งในและต่างประเทศ
๑๒. ขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการประกันคุณภาพและการศึกษาตามมาตรฐานนานาชาติ
๑๓. ส่งเสริมผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมเข้ารับการฝึกอาชีพ
เป้าหมาย
๑. ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์
๒. ผู้เรียนมีสมรรถนะด้านภาษาและเทคโนโลยี
๓. ผู้เรียนมีสมรรถนะทางวิชาชีพ และเป็นที่รอมรับของตลาดแรงงาน
๔. ผู้เรียนมีประสบการณ์ในการฝึกอาชีพทั้งในและต่างประเทศ
๕. ครูมีความรู้ความสามารถตรงตามวิชาชีพ
๖. ครูมีความรู้ ความสามารถด้านภาษาและเทคโนโลยีสอดคล้องตามศตวรรษที่ 21
๗. ครูและบุคลากรทางการศึกษามีคุณธรรม จริยธรรมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
๘. มีการพัฒนาหลักสูตรและการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องตามมาตรฐานอาชีพ
๙. การใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการ
๑๐. การบริหารจัดการองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ
๑๑. การสร้างเครือข่ายความร่วมมือทั้งในและต่างประเทศ
๑๒. การมีส่วนร่วมของบุคลากรในการประกันคุณภาพและการศึกษาตามมาตรฐานนานาชาติ
๑๓. การบริการวิชาการและวิชาชีพสู่ชุมชน
“ทักษะดี คุณธรรมเด่น เน้นเทคโนโลยี มีมาตรฐานสากล”
การทำงานเป็นทีม การต้อนรับ ทัศนคติ รักชาติ รักษาสิ่งแวดล้อม ความเป็นเลิศ
(Collaboration, Hospitality, Attitude , Nationalist , Green , Excellence)
154 ถ.มรุพงษ์ ต.หน้าเมิอง อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา 24000
สีแสด | สีน้ำเงิน |
ต้นพุทธรักษา